เครื่องกั้นทางเข้าออก หรือประตูกั้นคน ที่เรามักพบเห็นตามอาคาร หรือสถานที่ห้างร้านต่างๆ ที่มีจุดประสงค์หลักไว้เพื่อกั้นบริเวณทางเข้า-ออก ตามสถานที่นั้นๆ และหากสถานที่นั้นมีคนเข้า-ออกจำนวนมาก จะสามารถช่วยนับคน หรือสแกนคนเพื่อความปลอดภัย ทั้งยังมีการจัดการบุคคลให้เข้า-ออก อย่างสะดวก มักจะมีการติดตั้งตาม บริษัท หรือองค์กรใหญ่ๆ, โรงเรียน, สถานีรถไฟฟ้า เป็นต้น และด้วยความที่ต้องใช้งานของ เครื่องกั้น ที่ต้องมีการใช้งานอย่างต่อเนื่อง การที่จะทำให้เครื่องนั้นมีสภาพคงทน และสามารถใช้งานได้อย่างยาวนาน วัสดุที่นำมาผลิตนั้นถือมีความสำคัญที่ต้องมีประสิทธิภาพสูง ทั้งต้องมีความคงทน แข็งแรง พร้อมกับการดีไซน์ที่ทันสมัย และต้องมีการบำรุงรักษาด้วยเช่นกัน
วัสดุที่นำมาผลิต เครื่องกั้นทางเข้าออก
โดยเครื่องกั้นฯ ตัววัสดุที่นำมาผลิตหลักๆแล้วมักจะใช้ “สแตนเลส” หรือเรียกอีกชื่อว่า เหล็กกล้าไร้สนิม ซึ่งความรู้พื้นฐานของสแตนเลสนั้น หลักๆแล้วสแตนเลสเป็นโลหะผสมระหว่างเหล็ก และคาร์บอนที่มีความต้านทานการกัดกร่อนสูง สามารถปรับปรุงคุณสมบัติในการต้านทานการกัดกร่อน และคุณสมบัติอื่นๆที่ต้องการให้สูงขึ้นได้โดยการเพิ่มส่วนผสมของโครเมียม และเพิ่มธาตุอื่นๆเช่น โมลิบดิบนัม นิกเกิลและไนโตรเจนเข้าไป สแตนเลส มีอยู่มากกว่า 60 ชนิด โดยคุณสมบัติเด่นของสแตนเลสจะยากต่อการขึ้นสนิมเมื่อเทียบกับโลหะหรือวัสดุชนิดอื่นๆ ทั้งยังค่าบำรุงรักษาต่ำ ง่ายต่อการเชื่อมและการขึ้นรูป ระยะเวลาการใช้งานคุ้มค่า และสามารถนำกลับมาใช้ได้ใหหม่ ทำให้สแตนเลส เป็นโลหะที่ถือมีคุณสมบัติและมีประโยชน์ใช้สอย
ในส่วนของเครื่องกั้นฯนั้น วัสดุที่นำมาผลิตจะใช้ “สแตนเลสเกรด 304” ที่ส่วนมากนิยมนำมาผลิตเป็น ประตูสแตนเลส จะมี โครเมียม และ ธาตุนิเกิล ผสมอยู่ ในสัดส่วน 18-8 จะทำให้ทนต่อการเกิดสนิม และกัดกร่อนในสภาพอากาศต่างๆได้ และที่สำคัญสามารถขึ้นรูปเย็น และเชื่อมได้ดี ด้วยเนื้อสแตนเลสจะสร้างจากฟิล์มบางๆ เรียกว่า PASSIVE FILM มาเคลือบผิวหน้าตลอดเวลาเมื่อผิวนั้นทำปฏิกิริยากับอ๊อกซิเจน (H2O) ที่มีอยู่ในบรรยากาศทั่วไป ทำใหทำความสะอาดและดูแลรักษาง่าย เนื่องจากสแตนเลสไม่เกิดสนิมจึงสามารถทำความสะอาดได้ง่าย ยังส่งผลให้ชิ้นงานที่ทำจากสแตนเลสมีความแข็งแรงทนทานมาก แต่การทำชิ้นงานจากสแตนเลสก็ทำได้ยากเช่นกัน อุปกรณ์สำหรับงานแปรรูป ตัด เจาะ หรือเชื่อม ต้องเป็นเฉพาะที่ใช้กับงานสแตนเลสเท่านั้น
ประโยชน์ของสแตนเลสเกรด 304
ความทนทาน
เป็นคุณสมบัติเด่นของสแตนเลสคือความแข็งแกร่ง ทนทาน สแตนเลสสามารถเพิ่มความแข็งได้ด้วยการขึ้นรูปเย็น ซึ่งใช้เพื่อออกแบบงาน โดยลดความหนา น้ำหนักและราคา สแตนเลสบางเกรดอาจใช้ในงานที่ทนความร้อนและยังคงความ ทนทานสูง
ทนทานต่อการกัดกร่อน
สแตนเลส ทุกตระกูลทนทานต่อการกัดกร่อน แต่จะแตกต่างกันไปตามส่วนผสมของโลหะ เช่น เกรดที่มีโลหะผสม ไม่สูง สามารถต้านทาน การกัดกร่อนในบรรยากาศทั่วไป ในขณะที่เกรดที่มีโลหะผสมสูงสามารถต้านทานการกัดกร่อน ในกรด ด่าง สารละลาย บรรยากาศคลอไรด์ ได้เกือบทั้งหมด
ง่ายต่องานประกอบ หรือแปรรูป
สแตนเลสส่วนใหญ่สามารถ ตัด เชื่อม ขึ้นรูป ตบแต่งทางกล ลากขึ้นรูป ขึ้นรูปนูนต่ำได้ง่าย ด้วยรูปร่าง สมบัติ และลักษณะต่างๆของสแตนเลส ช่วยให้ผู้ผลิตสามารถนำสแตนเลสไปประกอบกับวัสดุอื่นๆได้ง่าย
ความต้านทานต่ออุณหภูมิสูงและอุณหภูมิต่ำ
สแตนเลส บางเกรดสามารถทนความร้อนหรือ/และความเย็น รวมถึงการเปลี่ยนอุณหภูมิโดยฉับพลันได้ดี และด้วยคุณสมบัติพิเศษในการทนไฟ ทำให้มีการนำสแตนเลสไปใช้ในอุตสาหกรรมขนส่ง อุตสาหกรรม ปิโตรเคมี อย่างแพร่หลาย
ความสวยงาม
ด้วยรูปทรงและพื้นผิวที่หลากหลายรูปแบบที่สวยงาม ทำความสะอาดได้ง่าย ปัจจุบันสแตนเลสมีสีให้เลือกมากมายด้วย กรรมวิธีชุบเคลือบผิวด้วยเคมี ไฟฟ้าสามารถทำให้สแตนเลสมีผิวสีทอง บรอนซ์ เขียว เงิน และสีดำ ทำให้สามารถเลือก ประยุกต์ใช้สแตนเลสได้อย่างมากมาย นอกจากนี้ ความเงางามของ สแตนเลสในอ่างล้างจาน อุปกรณ์ประกอบอาหาร หรือ เฟอร์นิเจอร์ทำให้บ้านดูสะอาดและน่าอยู่อีกด้วย
ความปลอดภัยและถูกสุขลักษณะ
การ ทำความสะอาด การดูแลรักษาสแตนเลส และมีความเป็นกลางสูงจึงไม่ดูดซึมรสใดๆ เป็นเหตุผลสำคัญที่สแตนเลสถูกนำมาใช้งานในงานโรง พยาบาล เครื่องครัว ด้านโภชนาการและด้านเภสัชกรรม เนื่องจากความทนทาน ต้องการการดูแลรักษาน้อย และค่าใช่จ่ายต่ำเมื่อเปรียบเทียบกับระยะเวลาการใช้ งาน การใช้อุปกรณ์เครื่องครัวสแตนเลสใน บ้านเรือนให้ความรู้สึกถึงความปลอดภัยแก่ผู้ใช้