ปัจจุบันมีเทคโนโลยี เครื่องกั้นทางเข้าออก เข้ามามีบทบาทในการควบคุมการเข้า-ออกของบุคคลต่าง ๆ เพิ่มมากขึ้น โดยส่วนใหญ่แล้ว เครื่องกั้นทางเข้าออก นี้สามารถใช้งานร่วมกับระบบต่าง ๆ ได้หลายระบบ ไม่ว่าจะเป็น ระบบสแกนนิ้ว หรือ ระบบหยอดเหรียญ เป็นต้น และอีกระบบคือ ระบบทาบบัตร ซึ่งใช้ระบบบัตร RFID เข้ามาร่วมทำงานด้วยนั่นเอง
RFID มีประโยชน์อย่างไร
“RFID” ย่อมาจาก Radio Frequency Identification มีหลักการทำงาน ด้วยการที่อุปกรณ์จะส่งคลื่นวิทยุ มาอ่านค่าจากขดลวดจากภายในบัตร หรืออุปกรณ์อื่นๆ ทำให้ไม่ต้องมีการรูดหรือเสียบบัตรอีกต่อไป รวมถึงบางรุ่นไม่จำเป็นต้องสัมผัสกับตัวเครื่องอ่านอีกด้วย (Contact-Less) เพียงนำอุปกรณ์ไปไว้ในระยะ 3 – 6 เซ็นติเมตร ก็สามารถอ่านได้ทันที
RFIDกับระบบ Access control
จะเป็นโซลูชั่นใหม่ที่ทันสมัยที่ให้ผู้ใช้มีอำนาจที่จะเข้าถึงข้อมูลของระบบได้ทันท่วงทีและถูกต้องที่จะก้าวเข้าไปในพื้นที่ของอุปกรณ์นั้นๆ ไม่ว่าจะเป็น ประตูปิด – เปิด ประตูทางผ่าน ซึ่งระบบจะมีพลังงานจาก 3 องค์ประกอบหลักๆ คือ
- Access control soft ware
- RFID-Badges/Tags
- RFID-Reader
ซึ่งทั้งสามส่วนนี้จะทำงานร่วมกัน เพื่อให้ผู้ใช้ได้เข้าถึงระบบและมีการเรียนรู้ระบบที่ดี และจะมีประสิทธิภาพจากสภาพแวดล้อม ทางธุรกิจที่ดีอีกด้วย ทำให้แบ่งแยกหน้าที่ของผู้ที่เข้าพื้นที่จะมีความรับผิดชอบนั้นๆที่แตกต่างกันออกไป
RFIDมีกี่ประเภทอย่างไรบ้าง และ ขดลวดใน บัตรRFIDต่างกันอย่างไร
อย่างที่ได้กล่าวไปแล้วว่า บัตรRFID มีการใช้งานขดลวดภายในบัตรที่ไม่เหมือนกัน และมีมาตรฐานในการอ่านของหัวอ่านที่ไม่เหมือนกันอีกเช่นกัน ดังนั้น เราจะมาอธิบายความแตกต่างของ ขดลวด ว่าแบ่งเป็นกี่รูปแบบอะไรบ้าง
RFIDแบ่งออกตามคลื่นความถี่ได้ดังนี้
- ย่านความถี่ต่ำ (Low Frequency: LF) ต่ำกว่า 150 กิโลเฮิรตซ์ (kHz)
- ย่านความถี่สูง (High Frequency: HF) 13.56/27.125 เมกะเฮิรตซ์ (MHz)
- ย่านความถี่สูงยิ่ง (Ultra High Frequency: UHF) 433/868/915 เมกะเฮิรตซ์ (MHz)
- ย่านความถี่ไมโครเวฟ (Microwave frequency) 2.45/5.8 กิกะเฮิรตซ์ (GHz)
โดยปกติแล้ว บัตรRFID ที่เรามักใช้สำหรับงาน Access Control จะมีการใช้งานกันอยู่ใน 2 ย่านความถี่ โดยแต่ละย่านความถี่ก็มีชื่อเรียกที่ไม่เหมือนกัน กล่าวคือ ในย่านความถี่ 125 kHz ที่อยู่ใน ย่านความถี่ต่ำ (LF) จะถูกเรียกว่า Proximity Card และในย่านความถี่ 13.75 mHz ที่อยู่ในย่านความถี่สูง (HF) จะถูกเรียก Mifare Card ด้วยย่านความถี่ที่ต่างกันของอุปกรณ์ที่เป็นไปตามมาตฐาน ชิป ที่ควบคุมบัตรเอง ก็ย่อมแตกต่างกัน โดยในแต่ละ Chip ซึ่งถูกฝังอยู่ภายในตัวบัตร (RFID Card) จะอ่านได้กับหัวอ่านที่รองรับกับตัวเองเท่านั้น และในการทำงานของหัวอ่านนั้นต้องมีการลงทะเบียนบัตรเพื่อใช้งานระบบ ดังนั้นจึงนิยมนำมาใช้ทำ ระบบควบคุมการเข้าออก
อีก 1 ใน สองประเภทที่ยังไม่ได้กล่าวถึงก็คือ ย่านความถี่สูงยิ่ง (Ultra High Frequency: UHF) เป็นบัตรความถี่ UHF นิยมใช้ในกลุ่มงาน ลานจอดรถ หรือ Car Park เพื่อนำมาเป็นระบบควบคุมการเข้าออก สำหรับลานจอดรถ หรือหมู่บ้านต่างๆ โดยใช้คู่กับหัวอ่าน UHF ซึ่งในกลุ่มหัวอ่าน UHF จะถูกเรียกว่าหัวอ่านระยะไกล ด้วยความไกลของหัวอ่าน ทำให้นิยมใช้เพื่ออ่านบัตร ในระยะไกลมากๆ เพื่ออำนวยความสะดวกให้กับพื้นที่ และสุดท้ายในส่วนRFID รูปแบบคลื่น ไมโครเวฟ (Microwave) เป็นนวัตกรรมใหม่ ที่กำลังถูกวิจัยและพัฒนาในย่านความถี่ไมโครเวฟที่ความถี่ 2.4 GHz และความถี่ 5.8 GHz โดยในอนาคตคาดว่าจะมีการนำไปใช้งานในระบบคลังสินค้าเนื่องจากขนาดของสายอากาศที่เล็กมาก แต่ด้วยการพัฒนาอยู่นั้นเอง ทำให้ความนิยมยังมีไม่มากนัก
นอกจากในส่วนของลานจอดรถที่ใช้RFID เพื่อดูแลทางเข้าออกแล้ว ก็ยังมีการใช้ TAG RFID เพื่อป้องกันการโจรกรรมสินค้า ราคาแพง อย่างเช่น นมผง อุปกรณ์อิเล็คทรอนิกส์ เครื่องสำอาง โดยเป็นรูปแบบ สติกเกอร์ หรือ ป้าย tag เพื่อป้องกันสินค้าสูญหาย และในทางเข้าออกก็มีการติดตั้งหัวอ่านกันขโมยเพื่ออ่านสัญญาณจากRFID